วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



การปลูกข้าวโพด

แบบข้าวโพดข้าวเหนียว

      ข้าวโพดข้าวเหนียว หรือบางท้องถิ่นเรียกว่า ข้าวโพดเทียน ข้าวโพดสาลี เป็นต้น ถือเป็นข้าวโพดที่ได้รับความนิยมรับประทาน และปลูกกันมากในพื้นที่ที่มีระบบน้ำพอเพียงหรือปลูกบนแปลงนาหลังการเก็บ เกี่ยวข้าวเพื่อเป็นรายได้เสริม เนื่องด้วยมีรสหวาน เหนียว ปลูก และดูแลง่าย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ราคาสูง โดยพบปลูกมากในภาคอีสาน กลาง และเหนือ

     พันธุ์ ที่นิยมปลูกมีหลายพันธุ์ตามชื่อเรียกของแต่ละท้องถิ่น เช่น พันธุ์เทียนขาว พันธุ์เทียนเหลือง พันธุ์เกษตรขาว พันธุ์สำลี แต่ทั้งนี้ทางหน่วยงานรัฐมีการส่งเสริมให้ปลูกได้แก่พันธุ์ข้าวเหนียวหวานขอนแก่น เป็นพันธุ์ที่ให้เมล็ดสีขาว นุ่มหวาน มีกลิ่นหอม อายุการเก็บเกี่ยวสั้นพันธุ์สุโขทัย 1 เป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากพันธุ์ T-033 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง มีรสหวานเล็กน้อย กลิ่นหอมพันธุ์อื่นๆ เช่น พันธุ์เหลืองอุทัยธานี พันธุ์เหลืองพิษณุโลก พันธุ์ขาวเชียงใหม่ พันธุ์สำลีอีสาน พันธุ์รัชตะ พันธุ์บิ๊กไบท์ พันธุ์ท๊อปไวท์ พันธุ์ข้าวเหนียวสลับสี
    ข้าวโพดสามารถเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย หน้าดินลึก หน้าดินไม่แน่น พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีความชื้นที่เพียงพอ หากหน้าดินแห้งหรือขาดน้ำ ข้าวโพดจะหยุดเติบโต และเหี่ยวตายได้ง่ายมาก ทั้งนี้ สามารถปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวได้ตลอดทั้งปี ขอเพียงให้มีน้ำเพียงพอเท่านั้น บางพื้นที่ เช่น ภาคเหนือ อีสาน นิยมปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม เพราะช่วงนี้ดินยังมีความชื้นอยู่มาก ทำให้ประหยัดน้ำได้มาก แต่หลังการปลูกประมาณ 1-2 เดือน อาจต้องให้น้ำเพิ่ม เพราะช่วงนี้อากาศจะแห้ง และร้อน ทำให้หน้าดินสูญเสียความชื้นได้ง่าย
การปลูก
เตรียมดินด้วยการไถดะลึกประมาณ 15 ซม. เพื่อตากดินให้แห้ง กำจัดวัชพืช และกำจัดไข่หรือตัวอ่อนแมลง โดยตากดินประมาณ 1 สัปดาห์ และหลังจากนั้นให้ทำการไถแปรอีก 1 ครั้ง เพื่อให้ก้อนไถแตกเป็นก้อนเล็ก และทำการตากดินอีกประมาณ 1 สัปดาห์
การปลูกสามารถปลูกเป็นแถวโดยการยก ร่องหรือปลูกหลังการเตรียมดินเสร็จโดยไม่ยกร่องก็ได้ แต่พื้นที่ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขังในกรณีที่ฝนตก ทั้งนี้ การปลูกข้าวโพดนิยมปลูกโดยการยกร่องมากกว่า เพราะง่ายต่อการดูแล การให้น้ำ การให้ปุ๋ย และการควบคุมวัชพืช
การปลูกโดยไม่ยกร่อง ให้ปลูกระยะระหว่างแถวที่ 70?เซนติเมตร ระหว่างต้นที่ 20?เซนติเมตร โดยหยอด 2 เมล็ด/หลุม หากเมล็ดงอกทั้งสองเมล็ดให้ถอนเหลือไว้เพียงหลุมละต้น
ส่วน การยกร่อง ใช้วิธีการไถยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 70-80 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 20 เซนติเมตร ยอดเมล็ด 2 เมล็ด/หลุม และให้ถอนต้นอ่อนให้เหลือหลุมละ 1 ต้น เมื่อต้นอ่อนตั้งต้นได้แล้วหรือต้นอ่อนสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร
ก่อนปลูกให้นำเมล็ดมาแช่น้ำประมาณ 30 นาที เพื่อให้ต้นกล้างอกได้เร็ว และกำเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง
การดูแล
การให้น้ำ สำหรับแปลงปลูกที่มีการยกร่องสามารถให้น้ำตามร่องดินเพื่อให้ความชุ่มชื้น แก่ดินก่อนปลูก หลังการหยอดเมล็ดเมื่อเมล็ดงอกแล้ว 1 สัปดาห์ เริ่มให้น้ำตามร่อง โดยให้ที่ความถี่ 1-2 ครั้ง/เดือน โดยขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดิน ทั้งนี้ในช่วงติดฝักพึงระวังอย่าให้ดินแห้งเป็นดีที่สุด
การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ในอัตราต้นละ 0.3 กิโลกรัม หรือ 2 กำมือ/ต้น ส่วนปุ๋ยเคมีให้ใช้สูตร 20-20-0 โดยการใส่รองพื้นหรือใส่เมื่อเมล็ดงอกแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ และให้สูตร 12-12-24 ในอัตราเดียวกันในช่วงก่อนติดฝัก
การกำจัดวัชพืช ให้ทำการถอนวัชพืชเป็นระยะ 1 ครั้ง/เดือน หลังเมล็ดงอกแล้ว และสามารถยึดได้เมื่อต้นข้าวโพดโตจนสามารถคุมดินได้แล้ว
โรค และแมลง ที่มักพบ ได้แก่ โรคราน้ำค้าง ซึ่งสามารถกำจัดด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดราทั่วไปตามท้องตลาด นอกจากนั้นมักพบหนอนเจาะลำต้นหรือหนอนเจาะฝักที่ชอบเจาะกินก้านฝัก แกนฝักหรือเมล็ดอ่อนของข้าวโพด ทั้งนี้ สามารถป้องกัน และกำจัดด้วยการใช้ฉีดพ่นแบคทีเรียบีที
การเก็บเกี่ยว
ข้าวโพดข้าวเหนียวจะสามารถเก็บผลได้โดยสังเกตุที่ใยไหมมีสีน้ำตาล เมื่อบีบที่ปลายฝักจะยุบตัวง่าย ซึ่งจะมีอายุการเก็บเกี่ยวในช่วง 55-65 วัน ทั้งนี้การเก็บเพื่อความแน่ใจควรสุ่มเก็บในแปลงประมาณ 2-3 ฝัก ในจุดต่างๆของแปลงเสียก่อน หรือเปิดดูเมล็ด หากเมล็ดมีลักษณะอวบเต็มไม่มีช่องว่างระหว่างเมล็ดก็สามารถเก็บผลผลิตได้



การปลูกกุยช่าย

แบบกำไร...ง้ายงาม

     กุยช่าย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บางท้องถิ่นเรียกว่า ผักแป้น มีลักษณะลำต้นที่เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนใบจะมีสีเขียวคล้ายใบกระเทียมเป็นส่วนที่อยู่เหนือดิน สูงประมาณ 30-45 เซนติเมตร ดอกจะแทงออกกลางลำต้น ก้านดอกมีลักษณะกลม เรียวยาว สูงกว่าใบเล็กน้อย ส่วนดอกจะอยู่ปลายสุด ดอกตูมด้านนอกมีลักษณะสีเขียว เมื่อบานจะมีลักษณะสีขาวหรือม่วง

1. กุยช่ายเขียว เป็นกุยช่ายที่ปลูกเพื่อการตัดเก็บใบเขียว โดยตัดใบในระยะที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนระยะ การออกดอก ลักษณะใบเรียวยาวสีเขียว นิยมนำมาบริโภคทำขนมกุยช่าย ใส่ผัดไท ทำผักดอง และอาหารอื่นๆ
2. กุยช่ายขาว มีลักษณะใบสีเหลืองอ่อน ถือเป็นผลผลิตที่ได้จากการตัดใบเหมือนกุยช่ายเขียว แต่ใช้วิธีการบังแสงแดด โดยวิธีการคลุมต้นด้วยวัสดุทึบแสง เพื่อไม่ให้ใบสังเคราะห์ และผลิตสารคลอโรฟิลด์ที่เป็นรงค์วัตถุสีเขียวเหมือนกุยช่ายเขียว ซึ่งจะใช้เวลาการเก็บเกี่ยวน้อยกว่ากุยช่ายเขียว ผลผลิตที่ได้จึงมีสีเหลืองอ่อน ถือเป็นที่นิยมในตลาด เพราะให้รสหวานกรอบกว่ากุยช่ายเขียว สีสวยงาม ปราศจากโรค และรอยของแมลง นิยมทำเมื่อเก็บเกี่ยวกุยช่ายเขียวหรือทำสลับแปลงกัน

3. กุยช่ายดอก เป็นผลผลิตของกุยช่ายที่เป็นเฉพาะส่วนดอก ซึ่งดอกจะแทงยอดดอกเมื่อต้นกุยช่ายเจริญเติบโตเต็มที่โดยไม่มีการตัดใบเขียวหรือตัดใบกุยช่ายเขียว

วิธีการปลูก
การเพาะขยายพันธุ์
1. การเพาะเมล็ด ถือเป็นวิธีที่นิยม และใช้ในการผลิตกุยช่ายเขียว และกุยช่ายดอก และเพื่อเตรียมต้นกล้าสำหรับผลิตกุยช่ายขาว ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ 1 ถุง/กก. ราคาประมาณ 3,000-4,000 บาท อัตราการปลูกที่ 1 กก./ 4 ไร่
2. การแยกเหง้าปลูก ใช้ในการปลูกทั้งกุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว ด้วยการสลับผลิตกุยช่ายแต่ละชนิดในแปลงเดียวกัน วิธีนี้จำเป็นต่อการปลูกกุยช่ายขาว เพราะการปลูกจากเหง้าให้เป็นกอๆ จะสามารถใช้วัสดุทึบแสงคลุมกอได้ อัตราการปลูกที่ 400 กก./ไร่
การเตรียมแปลง
1. พื้นที่ที่มีระบบน้ำขังตลอด
– ทำการยกร่องสูงประมาณ 1 เมตร กว้าง 3-5 เมตร ความกว้างของร่องประมาณ 1.5-2 เมตร
– ไถพรวนแปลงเพื่อตากแดด 1 ครั้ง ตากแดดประมาณ 5-10 วัน
– ทำการหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ร่วมด้วยกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราส่วนปุ๋ยหมักต่อปุ๋ยเคมี 15:1 ใส่ในอัตรา 1000 กก./ไร่ พร้อมไถแปรอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน ก่อนปลูก
2. พื้นที่ดอนหรือไม่มีน้ำท่วมขัง
– ทำการยกร่องสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2 เมตร ความกว้างของร่องประมาณ 50-70 เซนติเมตร
– ไถพรวนแปลง และหว่านปุ๋ยตามวิธีขั้นต้น
การปลูก
1. กุยช่ายเขียว
1.1 กุยช่ายเขียวจากการหว่านแปลง
– หลังจากเตรียมแปลงเสร็จประมาณ 1 อาทิตย์ ให้หว่านด้วยเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 1 กก./ไร่
– คราดด้วยคราด 1 รอบ พร้อมคลุมแปลงด้วยฟางข้าวหรือแกลบ
– รดน้ำให้ชุ่ม
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย จนอายุประมาณ 7-8 เดือน ก็สามารถเก็บขายได้
1.2 กุยช่ายเขียวจากการแยกเหง้าปลูก
– ใช้วิธีการปลูกแบบกุยช่ายขาว ในหัวข้อ 2.2 โดยไม่มีการคลุมด้วยวัสดุทึบแสงเท่านั้นเอง การผลิตกุยช่ายเขียวกับกุยช่ายขาวจะทำการสลับกันเป็นรุ่นๆในแปลงเดียวกัน
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ประมาณ 4 เดือน หลังปลูกก็สามารถตัดใบขายได้
2. กุยช่ายขาว
2.1 อุปกรณ์
– การะถางพลาสติกหรือกระถางดินเผา ขนาด 11x23x30 เซนติเมตร (เส้นผ่าศูนย์กลางก้นกระถาง x เส้นผ่าศูนย์กลางปากกระถาง x ความสูง)
– ตาข่ายพรางแสง (ซาแลน)
– ไม้ไผ่
2.2 ขั้นตอนการปลูก
– ใช้กล้าพันธุ์ที่เตรียมได้จากเหง้ากุยช่ายเขียว ที่มีการตัดใบจำหน่ายแล้ว อย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ไม่ควรเกินอายุ 1 ปี หรืออาจใช้ต้นกล้าอายุตั้งแต่ 3-4 เดือน
– ทำการขุดเหง้ากุยช่าย และเก็บไว้ในที่ร่ม แต่ควรปลูกทันทีเมื่อขุดเหง้าขึ้น
– ทำการตัดรากให้ชิดเหง้าประมาณ 1 เซนติเมตร และตัดใบให้เหลือประมาณ 1 นิ้ว
– ปลูก 4-6 เหง้า/หลุม ในระยะระหว่างต้น และระหว่างแถว 30×30 เซนติเมตร เว้นขอบแปลงด้านละ 15 เซนติเมตร แปลงขนาด 1.3-1.5 เมตร จะได้ประมาณ 4-5 แถว
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย และเก็บเกี่ยวกุยช่ายเขียว กุยช่ายดอกจำหน่ายแล้ว จนถึงอายุประมาณ 1 ปี จะเหมาะสำหรับผลิตเป็นกุยช่ายขาวได้
– การตัดใบกุยช่ายเขียวจำหน่ายครั้งสุดท้าย ให้ตัดใบในระดับผิวหน้าดิน
– ใช้กระถางครอบแต่ละกอต้นกุยช่าย โดนออกแรงกดให้กระถางจมลงดินเล็กน้อยหรือให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดการล้มของกระถางได้
– ขุดหลุมฝังเสาไม้ พร้อมขึงตาข่ายพรางแสง
– รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ในระยะ 10 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้
3. กุยช่ายดอก
3.1 กุยช่ายดอกจากการหว่านแปลง
– การปลูกกุยช่ายดอกจากการหว่านเมล็ด ให้ทำตามขั้นตอนการปลูกกุยช่ายเขียวจากการหว่านเมล็ดในหัวข้อ 1.1
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย โดยไม่มีการตัดใบจนถึงระยะแก่ กุยช่ายจะแทงช่อดอกออกมาก็สามารถเก็บผลผลิตได้
3.2 กุยช่ายดอกจากการแยกเหง้าปลูก
– ใช้วิธีการปลูกแบบกุยช่ายขาว ในหัวข้อ 2.2 แต่ไม่มีการคลุมด้วยวัสดุทึบแสง
– ดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย โดยไม่มีการตัดใบจนถึงระยะแก่ กุยช่ายจะแทงช่อดอกออกมา
– การปลูกกุยช่ายขาวจากวิธีการแยกเหง้า สามารถทำสลับกับการเก็บกุยช่ายเขียวได้อีกด้วย
การดูแล
ทั้งกุยช่ายเขียวจากการหว่านแปลง และแยกเหง้าปลูก กุยช่ายขาว และกุยช่ายดอก มีขั้นตอนการดูและ ดังนี้
– ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน ในช่วงเช้า
– ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปุ๋ย ปุ๋ยคอก 500 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมี 50 กก./ไร่ ในทุก 2 เดือน/ครั้ง
การเก็บผลผลิต
1. กุยช่ายเขียว
1.1 กุยช่ายเขียวจากการหว่านแปลง
– สามารถตัดใบจำหน่ายได้หลังปลูกประมาณ 7-8 เดือน และครั้งต่อไปประมาณ 45 วัน
1.2 กุยช่ายเขียวจากการแยกเหง้าปลูก
– สามารถตัดใบจำหน่ายได้หลังปลูกประมาณ 4 เดือน
– การตัดใบครั้งต่อไป สามารถทำได้ในระยะประมาณ 45 วัน
2. กุยช่ายขาว มักทำสลับกับการตัดกุยช่ายเขียว
– สามารถตัดใบจำหน่ายได้หลังคลุมด้วยกระถาง ประมาณ 10-15 วัน
– หลังจากตัดใบกุยช่ายขาวแล้ว ไม่คลุมกระถางจะตัดกุยช่ายเขียวได้อีก ประมาณ 45 วัน

3. กุยช่ายดอก
3.1 กุยช่ายดอกจากการหว่านแปลง
– สามารถตัดดอกจำหน่ายได้หลังปลูกประมาณ 8 เดือน และครั้งต่อไปประมาณ 2 เดือนครึ่ง
3.2 กุยช่ายดอกจากการแยกเหง้าปลูก
– สามารถตัดดอกจำหน่ายได้หลังปลูกประมาณ 4 เดือน และครั้งต่อไปประมาณ 2 เดือนครึ่ง


การปลูกผักสลัด

แบบไฮโดรโพนิกส์


วิธีการปลูก

      ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ วิธีการปลูกผักไร้ดินแบบง่าย ๆ ด้วยวัสดุราคาประหยัด อยากมีผักสด ๆ ปลอดสารพิษไว้เก็บกินตลอดทั้งปี มาทำชุดปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ไว้ปลูกผักไร้ดินง่าย ๆ กันเถอะ
          ต่อให้ไม่ใช่ช่วงเทศกาลกินเจเจ้าผักปลอดสารพิษในตลาดก็ยังแพงอยู่ดี วันนี้กระปุกดอทคอมเลยอยากจะชวนทุกคนมาทำ ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไว้ปลูกผักกินกันเอง ด้วยวิธีการปลูกผักไร้ดินง่าย ๆ จากรีวิวของ ที่เริ่มจากทดลองปลูกจากแปลงเล็ก ๆ แล้วขยับขยายจนกลายเป็นแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดใหญ่ ที่ทำจากวัสดุหาง่ายราคาประหยัดสุด ๆ 

มาทำชุดปลูก Hydroponics

      วันนี้ก็เลยจะนำเสนอขั้นตอนการทำชุดปลูกในแบบของผม  ซึ่งผมได้แก้ไขบางอย่างจากการปลูกในครั้งก่อน เช่น ระบบการไหลของน้ำที่มีปัญหา การคุมระดับน้ำในท่อและอื่น ๆ ลองมาเริ่มกันเลยนะครับ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำชุดปลูกรอบนี้ ได้แก่ 

          1. ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้วเท่าจำนวนรางที่ต้องการ
          2. ท่อ PVC ขนาด 6 หุนเท่าจำนวนรางที่ต้องการ (1 ท่อนยาว 4 เมตร ลองคำนวณดูครับว่าจะใช้กี่ราง ยาวเท่าไร)
          3. ท่อเชื่อม 3 ทาง ขนาด 2 นิ้ว และ 6 หุนตามจำนวนที่อยากทำ (บางท่านถ้าทำชุดเล็ก ๆ อาจจะไม่ต้องคุมน้ำไหลแบบที่ผมทำก็ได้นะครับ ทำเป็นข้อต่อเล่นระดับลงมาก็ได้ แต่ที่ผมทำแบบนี้เพราะผมมองว่าน่าจะดีกว่าในแง่ของการควบคุมหลาย ๆ อย่างครับ)
          4. บอลวาล์ว 2 นิ้ว 1 ตัว อันนี้ใช้คุมระดับน้ำในท่อ
          5. บอลวาล์ว 6 หุน เท่าจำนวนรางที่ใช้
          6. กาวทาท่อ
          7. อุปกรณ์ตัดอาจจะเป็นใบเลื่อยธรรมดาก็ได้ครับ
          8. สว่าน+โฮลซอว์ ขนาด 38 1/2 



ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

เกษตรแบบคอนโด


นาย พณพัฒน์  ศิลาอาสน์  เลขที่ 8

นาย พีระณัฐ ประสิ่งชอบ  เลขที่ 9
นาย  จักราวุธ ยนต์  เลขที่ 18
นาย เทวารัณย์  ปิยะราช  เลขที่ 34
นาย อัคราช  ประยูรศรี   เลขที่  38

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1




ที่ปรึกษาลดเวลาเรียน

อาจารย์ ดรรชนี  งามวสุศิริ


ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2

โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม

ต.วังกระแจะ  อ.เมือง  จ.ตราด